balloon-festival

1. เลือกขนาดทีวีให้เหมาะสม

การเลือกไซส์จอขนาดไหนขึ้นอยู่กับขนาดของห้องและระยะห่างจากหน้าจอถึงที่ นั่ง หมายความว่า ถ้าจอใหญ่แต่ห้องที่จะวางทีวีเครื่องนั้นเล็กและมีระยะห่างจากหน้าจอไม่พอ ก็จะทำให้รู้สึกอึกอัดเวลาที่มองเห็นองค์ประกอบของภาพที่ประกอบไปด้วยพิกเซล ต่างๆ แทนที่จะเห็นภาพทั้งภาพ อาจจะจะสูญเสียการแยกมิติภาพ และยังมีปัญหาในการกวาดสายตาให้เห็นรายละเอียดต่างๆ ในภาพอีกด้วย

ในทำนองเดียวกัน หากทีวีเล็กเกินไปก็จะมีปัญหาในการรับชมภาพจากระยะไกลๆ ด้วย เพราะตาของเราจะไม่สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆ ในภาพได้ รวมทั้งขาดบรรยากาศความมีส่วนร่วมในภาพ

แต่การที่เราจะหาขนาดจอภาพได้ เราก็ต้องรู้ก่อนว่าเราจะตั้งเก้าอี้ไว้ตรงไหน และทีวีจะวางอยู่ที่จุดใด เมื่อเรากำหนดได้แล้วก็มาหาขนาดจอภาพได้โดยเทียบว่าให้ระยะนั่งชมภาพเท่ากับ ประมาณ 3 เท่าของความสูงของจอที่เป็นอัตราส่วน 16:9 หรือเท่ากับประมาณ 2.1 เท่าของขนาดความกว้างของหน้าจอ

 

2. ตำแหน่งที่วางทีวีจะต้องมีแสงสว่างที่เหมาะสม

ถ้าเป็น Plasma TV ก็ไม่ควรมีหน้าต่างหรือแหล่งกำเนิดแสงประจันอยู่ด้านหน้าทีวี เพราะหน้าจอ Plasma TV เป็นกระจก มันจะสะท้อนแสงเกิดเป็นเงาภาพซ้อนทับบนจอภาพแสดงภาพด้อยลงทั้งความเข้มและ ความสว่าง

หากเป็น LCD TV รุ่นที่จอภาพไม่เป็นเงาอย่างที่เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปหลายๆ เครื่องก็อาจจะไม่มีปัญหากับหน้าต่างที่อยู่ตรงข้ามกับจอภาพหรือแสงจากหลอด ไฟที่จะสะท้อนบนจอภาพ แต่ LCD TV บางเครื่องที่หน้าจอมีความแวววาวแบบ Plasma TV ก็อาจจะมีแสงสะท้อนบนจอบ้างเล็กน้อย

ในห้องที่ปิดไฟมืดสนิท Plasma TV จะแสดงศักยภาพเต็มที่ แต่ในห้องแบบนั้น LCD TV ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพด้อยลง แต่ LCD TV รุ่นใหม่ๆ ได้แก้ปัญหาในส่วนนี้จนแทบจะได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ Plasma TV เมื่อใช้รับชมภาพในห้องที่ปิดไฟมืดแล้ว

LCD TV ชอบที่จะให้มีแสงปริมาณพอสมควรบริเวณหน้าจอภาพ เพราะการมีแสงจำนวนหนึ่งสะท้อนที่หน้าจอทำให้ได้ภาพที่มี Contrast และ Brightness ตามสเปค และได้ Black Level ที่เหมาะสม (เข้มดำอย่างที่ต้องการ)

 

3. ปรับระยะสูงต่ำและมุมมองให้เหมาะสมกับจอภาพ

ปัจจุบัน LCD TV หลายเครื่องได้พัฒนาตัวเองให้มีมุมมองที่กว้างมากขื้นจนแทบจะเทียบเท่ากับ Plasma TV ดังนั้นเราจึงสามารถจะตั้งเก้าอี้ให้เบนออกไปจากกึ่งกลางจอภาพได้บ้าง แต่ในแนวตั้งหรือในระดับสูงต่ำของมุมมองคุณจะต้องพยายามให้เบี่ยงเบนไป จากระดับกึ่งกลางของจอภาพให้น้อยที่สุด (ส่วน Plasma TV จะเป็นแบบเดียวกับ CRT TV ซึ่งจะอ่อนไหวน้อยกว่าเล็กน้อย)

 

4. การต่อไฟ AC

อย่าคิดว่าปลั๊กตัวผู้ของ LCD TV และ Plasma TV ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแบบสองขานั้นจะเสียบต่ออย่างไรก็ได้ เพราะอย่าลืมว่าไฟ AC มันจะมีขั้วหนึ่งเป็น Neutral อีกขั้วหนึ่งเป็นขั้ว Hot ซึ่งจำเป็นจะต้องต่อให้ถูกขั้วจึงจะได้ประสิทธิภาพ หรือ Performance ของภาพที่เต็มที่จริงๆ

วิธีสังเกตเมื่อต่อไฟ AC ถูกขั้วแล้ว (ไฟ AC จะได้เฟสที่ถูกต้อง) ภาพจะให้ contrast สูงกว่ามิติภาพจะดีกว่าด้านที่ต่อไฟ AC ไม่ได้เฟสที่ถูกต้อง และภาพจะคมกว่า หลุดลอยและมีสัญญาณรบกวนภาพน้อยกว่า รวมทั้งมีผลต่อสีสันของภาพที่จะได้เฟสสีที่ถูกต้องจึงได้สีของภาพที่สมจริง

 

5. การเชื่อมต่อสายสัญญาณภาพ

นี่ก็เช่นกัน สายทุกเส้นจะมีทิศทางของมัน จะต้องต่อให้ตรงทิศ ตรงทิศในความหมายนี้หมายถึงให้ถูกทิศทางตามที่ตัวเราได้ตรวจสอบแล้ว ซึ่งไม่แน่เสมอไปว่าจะต้องเห็นตัวอักษรที่พิมพ์ไว้บนตัวสายสามารถอ่านได้ เรียงจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือตรงตามทิศทางที่สายบางเส้นแจ้งไว้ และควรเลือกใช้สายสัญญาณภาพแบบที่ให้คุณภาพดีที่สุด โดยให้ความสำคัญไล่เรียงกันลงไปดังนี้

สาย HDMI จะได้ภาพที่ดีกว่าสายอื่นๆ (ไม่ว่าเรื่องความคมชัด รายละเอียดภาพ หรือความคมและความถูกต้องของสี หรือทางด้านความสว่าง และอื่นๆ) สาย Component Video จะรองลงมา (ถ้ามีสาย VGA หรือ D-Sub ทีวีบางเครื่องจะให้ภาพที่รองลงไปจากสายแบน Component Video เนื่องจากมักจะแสดงภาพที่เป็นรายละเอียดทางด้านคอมพิวเตอร์มากกว่าที่จะเป็น รายละเอียดทางด้านวิดีโอ แต่ถ้าเป็น Projector แบบ Home Cinema หลายเครื่องจะให้ภาพดีกว่าช่อง Component Video และจะมีปัญหาว่าไม่สามารถหาเครื่องเล่นแผ่นที่คุณภาพดีๆ ที่มีช่องสัญญาณภาพแบบนี้) ตามมาด้วยสาย S-Video และตบท้ายด้วยสาย Composite Video

 

6. การเชื่อมต่อสายสัญญาณภาพ

ถ้าใช้สาย HDMI ก็จะได้ทั้งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงในสาย HDMI เส้นเดียว แต่ถ้าใช้สายสัญญาณภาพแบบอื่นก็ต้องมีการต่อสายสัญญาณเสียงด้วยจึงจะมีเสียง จากทีวี สายสัญญาณเสียงก็เช่นกันต้องต่อให้ถูกทิศทาง (ทดสอบด้วยการฟังเสียง ซึ่งจะต้องสามารถให้ Timbre หรือให้ความถูกต้องเป็นธรรมชาติ)

การต่อสายข้างซ้ายข้างขวาก็อย่าให้สลับกัน กรณีที่ต้องใช้สายลำโพงเชื่อมต่อไปยังลำโพงภายนอก แยกต่างหากก็อย่าสลับแดงต่อกับดำหรือบวกสลับไปต่อกับลบข้างหนึ่ง (เพราะจะเกิิดเสียงในลักษณะ Out of Phase) หากสลับก็ต้องทำเหมือนกันทั้งสองข้าง

กรณีทีวีบางเครื่องมีช่องต่อ Digital Out แบบ Coaxial (หรือ Optical) ถ้ามีแอมป์ภายนอกที่มีีช่อง Digital Input ที่ตรงกันก็สามารถต่อเชื่อมกันได้ใปใช้แอมป์ภายนอกขับลำโพงขนาดใหญ่ซึ่งก็ น่าจะให้น้ำเสียงและความใหญ่โตของทั้ง Image และ Sound Stage ที่ยิ่งใหญ่กว่า

 

7. การเซ็ตแสงไฟในห้อง

บางคนจะรู้ดีว่าหากใช้งานในห้องมืด Plasma TV จะให้ Performance ทางด้านภาพเต็มที่เลยทีเดียว และ LCD TV ส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับห้องที่มีแสงจำนวนหนึ่งส่องสว่างภายในห้อง (มี LCD TV รุ่นใหม่ๆ หลายเครื่องเหมือนกันที่สามารถจะใช้งานในห้องที่ปิดไฟมืดได้ดีใกล้เคียง Plasma TV)

Plasma TV ถ้าโดยทั่วไปก็ไม่ควรมีแสงส่องแถวหน้าจอ ควรจะจัดแสงหลบไปทางด้านหลังเครื่อง จะให้ห้องสว่างมากๆ ก็ได้ แต่บริเวณที่ตั้งจอภาพไม่ควรใช้แสงส่องกระทบหน้าจอโดยตรง

LCD TV กลับใช้งานในห้องที่สว่างๆ ได้ดีกว่าห้องที่แสงทึมๆ ไม่กลัวแสงแต่ไม่ใช่จัดให้มีแสงสาดส่องปริมาณสูงๆ ส่องกระทบหน้าจอโดยตรง

 

8. ปรับ Backlight

ถ้าเป็น Plasma TV ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเพราะไม่ได้ใช้ไฟแบคไลต์ แต่ถ้าเป็น LCD TV ทุกเครื่องจะมีแบคไลต์อยู่ เพียงแต่ว่าบางเครื่องเราจะไม่สามารถไปปรับแต่งได้ (เครื่องมันจัดการของมันเอง)

ในกรณีที่เครื่องมีให้ปรับแต่งปริมาณแสงของหลอดแบคไลต์ การปรับคร่าวๆ คือ ให้ปรับไว้ตำแหน่งกลางๆ ก่อน (มาจากโรงงานหรือ Default มักจะปรับไว้สุดเลย) แล้วสังเกตว่าภาพยังคงมีพลังและสว่างเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่ก็ปรับเร่งแสงแบคไลต์ขึ้นไปจนกว่าจะได้ภาพที่สว่างกำลังพอดี (ต้องใช้ภาพที่คุ้นตาเป็นแนวทาง)

 

9. ขั้นตอนเซ็ตภาพ

แรกสุดเลยให้ปรับโหมดภาพจากโหมด Dynamic (โหมดที่ภาพสว่างโร่และเร่ง Contrast มาเต็มที่) ไปเป็นโหมด Standard เป็นอย่างน้อย บางเครื่องที่มีโหมด Movie ก็ให้ปรับเป็นโหมดนี้ถ้าจะใช้ดูภาพยนตร์ (จากแผ่น Blu-ray หรือแผ่น DVD) ส่วนโหมด Standard ก็ใช้สำหรับดูรายการฟรีทีวีไป (จะปรับมาใช้โหมด Movie ก็ได้ในกรณีที่ค่อนข้างซีเรียส)

 

10. ว่าด้วยเรื่องการปรับตั้ง Aspect Ratio ให้เหมาะสมหรือถูกต้อง

หากใช้ชมภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพอัตราส่วน 16 : 9 บ้าง 2.35 : 1 บ้างก็ให้ปรับเลือก Aspect Ratio เป็น Wide หรือ Full แล้วแต่จะเรียกกัน (เฉพาะภาพยนตร์บางเรื่องก็ปรับเป็น 4 : 3 ตามอัตราส่วนภาพแบบ 4 : 3 ที่บันทึกมา) แต่ถ้ากับรายการฟรีทีวีบ้านเราก็ต้องปรับตั้งเป็นอัตราส่วน 4 : 3 ไม่ใช่ปรับไว้ที่ Full หรือ 16 : 9 (แม้จะได้ภาพเต็มจอจริงแต่อัตราส่วนภาพเพี้ยน)

ถ้าต้องการได้ภาพรายการฟรีทีวีเต็มจอโดยอัตราส่วนภาพไม่เพี้ยนจะต้องปรับ ไปที่ Zoom เท่านั้น (ภาพจะถูกตัดรายละเอียดทางด้านบนและด้านล่างของภาพออกไปพอสมควรพร้อมๆ กับภาพถูกซูมจนเต็มจอ) หรืออาจจะเลือกเป็นอัตราส่วน 14 : 9 ซึ่งจะได้ภาพเกือบเต็มจอโดยมีแถบเล็กๆ สองข้างจอ (อัตราส่วนภาพไม่เพี้ยนแต่ภาพจะถูกซูมเล็กน้อยและตัดขอบภาพที่ส่วนบนหรือ ส่วนด้านล่างของภาพออกไปบ้างเล็กน้อย) ก็ได้เหมือนกัน

 

11. ขั้นตอนปรับเรื่องเสียง

ขั้นตอนนี้เป็นการปรับเลือกโหมดที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งก็จะมี Natural หรือ Middle หรือ Flat ให้เลือก บางคนก็ชอบที่จะปรับเองก็สามารถปรับไปที่ User หรือ Custom ก็จะสามารถไปปรับทุ้ม หรีอ Bass ได้ ปรับแหลม หรือ Treble ได้ วัดการปรับทั้งทุ้มและแหลมให้ยึดความสมดุลเป็นหลัก ซึ่งการปรับเร่งเบสมากไปเสียงก็จะอู้ไม่เปิด หากเร่งแหลมมากไปเสียงก็จะสดใสเกินเหตุมีการเน้นเสียงคมๆ เกินจริง อิมเมจของเสียงก็จะได้ขนาดที่เล็กๆ ไม่เป็นธรรมชาติ

 

12. ขั้นตอนการเลือกใช้วงจรเซอร์ราวนด์จำลอง

บางเครื่องก็ให้เลือกระบบเสียงเซอร์ราวนด์ SRS TruSurroundXT ซึ่งก็จะจำลองเสียงที่อยู่ด้านหลังในระบบเซอร์ราวนด์จริงๆ มาให้ มีการแผ่กว้างของเสียงออกไปทางด้านข้างๆ เสมือนมีลำโพงเซอร์ราวนด์อยู่ในระบบ ก็ให้เลือกใช้เมื่อต้องการใช้ดูภาพยนตร์

ที่มา GM 2000 ฉบับที่ 146

Pin It on Pinterest

Share This