Anaglyph

จริงๆ เทคโนโลยี 3D นั้นมีมานานแล้วนับร้อยปี โดยที่ในยุคแรกๆ เราจะเรียกการฉายภาพ 3D แบบดั้งเดิมนี้ว่า Anaglyph หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในรูปแบบของแว่นตาสีแดงและสีน้ำเงิน

glasses-anaglyph

แว่น Anaglyph ที่เราคุ้นเคยกันดี

โดยหลักการของภาพ 3D แบบนี้คือการใช้ฉายภาพสองภาพซ้อนลงไปบนเฟรมเดียวกัน โดยที่ภาพสองภาพจะมีลักษณะของสีที่แตกต่างคือสีแดง และสีน้ำเงิน (รวมถึงมุมมองที่เหลื่อมกันเล็กน้อยด้วย) ส่วนแว่นตัวนี้ก็จะมีหน้านี้คือการหักล้างสีที่ไม่ตรงกับฟิลเตอร์สีนั้นๆ ออกไปเช่นสีแดง ก็จะรับเพียงสีแดงเข้ามา (คือแสดงเป็นภาพ) ส่วนสีที่เหลือจะกลายเป็นสีดำ อีกข้างก็เช่นเดียวกัน ข้อเสียคือสีจะค่อนข้างซีดและไม่สดใสเท่าที่ควร ข้อดีคือราคาถูก (แว่นประเภทนี้ราคาไม่กี่บาทเท่านั้นเอง)

catcat

ตัวอย่างภาพ Anaglyph ภาพจาก http://pinterest.com

Polarized 3D

ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยการฉายภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกัน เหมือนเดิม แต่รอบนี้ภาพที่ฉายออกมาจะเป็นภาพที่ผ่านฟิลเตอร์ Polarize ที่แตกต่างกัน ภาพที่ได้ก็จะเหลื่อมกันเหมือนเดิม (หากไม่ได้มองผ่านแว่น) แต่แว่นตัวนี้จะพิเศษหน่อยคือด้านหนึ่งจะกรองคลื่นแสงเฉพาะแนวนอน ส่วนอีกด้านก็แนวตั้งเท่านั้น

polarizovannaya-kartinka-3d
ภาพที่ผ่านกระบวนการ Polarized

รูปแบบการฉายแบบ Polarized นี่คือเทคโนโลยีที่อยู่ในยุคปัจจุบัน Avatar ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน รวมถึงทีวี 3D ที่ออกวางจำหน่ายในปัจจุบันด้วย แต่รูปแบบของการฉายจะมีอีกสองแบบแยกย่อยออกไปอีกคือ

  • Linear Polarization: นี่เป็นรูปแบบปัจจุบันที่ใช้กันเยอะ คือการกรองในแนวตั้ง และแนวนอน ข้อเสียคือหากคุณหมุนหัวหรือนั่งไม่ได้ระดับ ภาพจะแยกออกกันในทันที (เหตุผลที่ควรนั่งในโรงและมองให้ตรงฉากกับจอ และอยู่ให้นิ่ง ก็เพราะใช้แว่นแบบนี้) ข้อดีคือราคาไม่แพงมาก
  • Circular Polarization: รูปแบบคล้ายด้าานบน แต่ฟิลเตอร์จะกรองแสงแบบตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มแทน ข้อดีของแบบนี้คือสามารถหันหัวไปมาได้ (แต่ในไทยผมไม่เคยเห็นแบบนี้แฮะ ใครเจอโปรดแจ้ง)

 

passive-3d

ภาพที่มองผ่านแว่น Polarized

Parallax Barrier

ปัจจุบันเรายังไม่ค่อยเห็นเทคนิคแบบนี้เท่าไหร่นัก แต่เทคนิคแบบนี้ข้อดีคือไม่ต้องใช้แว่นใดๆ ในการมองเลย เป็นเทคโนโลยีที่จะใช้ในทีวียุคต่อไป ใช้การฉายภาพสองเฟรมพร้อมกันลงบนจอ และมีฟิลเตอร์กรองแสงบนหน้าจอให้เข้าลูกกะตาของเราสองข้างแทน (แสงพุ่งเข้าตาแบบตรงๆ ชนิดไม่ต้องใช้แว่น) วิธีนี้เวิร์คสุดๆ แต่ยังเป็นอนาคตอีกยาวไกลที่ต้องพัฒนากันต่อ (ผมว่าจอ 3D ตามห้างดังๆ ก็อาจใช้หลักการเดียวกันกับแบบนี้นั่นละครับ)

รูปแบบที่กล่าวมาทั้งสามแบบ มีจุดประสงค์เดียวกันทั้งหมดคือทำให้เราได้รับภาพที่แตกต่างกันสองภาพสำหรับ ดวงตาของเรา เพราะการมองภาพให้ได้เป็น 3D นั้นจำเป็นต้องได้ภาพที่มีมุมมองสำหรับลูกตาสองข้างของเรา เราสามารถทดสอบรูปแบบของภาพที่จะเข้าลูกตาเราทั้งสองข้างได้เองโดยการหลับตา เพียงข้างเดียวและสลับซ้ายขวาดู ภาพที่ได้จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้างที่ต่าง กัน

และนี่คือรูปภาพที่อธิบายง่ายๆ เกี่ยวกับรูปแบบของภาพ 3D แบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เครดิตภาพจาก http://hdtvtest.co.uk และ http://blog.price.ua

 

ข้อมูลจาก http://www.techblog.in.th

 

Pin It on Pinterest

Share This