ledtv

เรื่องจริง RoHS & Lead Free แต่ Neo Plasma เป็นแค่มุมมองส่วนตัว
Lead Free = ปราศจากตะกั่ว –> ใช้เฉพาะการบัดกรีเท่านั้น โดยใช้ปรอท(Murcury)มาบัดกรีแทนตะกั่ว ซึ่งทำให้จุดบัดกรีมันปริแตกง่าย(Crack) และการใช้ปรอท มันต้องเพิ่มอุณหภูมิอีก 5-20 องศาเซลเซียสมากกว่าการใช้ตะกั่วในการทำให้ปรอทละลายเพื่อบัดกรีอุปกรณ์อิ เล็คโทรนิคส์ ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น และเปลืองค่าไฟซะอีก แถมทำให้อายุใช้งานของบอร์ดต่างๆสั้นลง อย่างเห็นได้ชัด
แต่จอ Neo ไม่ใช้ทั้งปรอท(Murcury Free) และตะกั่ว(Lead Free) ในการผลิต มันน่าจะทำให้อายุจอสั้นลง เพราะเดิมทีจอยังไม่ทันเสีย พวกบอร์ดต่างๆมันเสียก่อนแล้ว ลูกค้าคงไม่ซีเรียส แถมได้เครดิตเรื่องรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะไม่มีสถาบันไหนออกมารับประกัน หรือออกในรับรอง(Certificate)ให้ว่านอกจากรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ทำให้จอมันทนทานเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม ที่เห็นว่าจอ Neo ภาพคม สวย อาจจะมาจาก 1.จอถูกฉาบกันแสงสะท้อนมาเยอะ 2.การออกแบบ Main Board ที่ดีกว่าเดิม 3.เขียน Firmware แบบไม่กั๊ก ถ้าจะพิสูจน์ลองเอาเครื่อง V20 แต่ใส่จอ X20 สิ แล้วเทียบกับเครื่อง X20 แท้ๆ ว่ามีผลมากน้อยแค่ไหน

เมื่อ ก่อนเริ่ม Lead Free เพียงอย่างเดียว ต่อมาเพิ่มสารต้องห้ามอีกเพียบโดยเรียกใหม่ว่า RoHS มันยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะมาตราฐาน RoHS แต่ละประเทศ แต่ละผลิตภัณฑ์ แต่ละบริษัท ไม่เหมือนกันซะด้วย มันเป็นข้อกำหนดแบบหลายมาตราฐานมาก เป็นการเพิ่มต้นทุน แต่คุณภาพลดลง แต่ต้องสร้างภาพว่ารักษ์โลก
Sony เรียก Green Partner
SS เรียก ECO Partner
Delta เรียก RoHS
แล้ว ลิสสารเคมี(Chemical List)ต้องห้าม แค่ 3 บริษัทนี้ก็ไม่เหมือนกันแล้ว และแต่ละบริษัทยังแตกออกเป็นส่งไปขายโซน America กับ Europe ก็ใช้ลิสต้องห้ามไม่เหมือนกันอีก นี่ยกตัวอย่างแค่ 3 บริษัทเองนะครับ

ผม เคยดูแลเรื่อง RoHS มาปีกว่า ไปนั่งฟังมาทั้ง 3 บริษัท ทำ Workshop มาหลายหนแล้ว แต่ละโซน แต่ละประเทศ เค้าไม่ยอมคุยกัน ทำให้มาตราฐานมันเยอะมาก สร้างภาพเพื่อรักสิ่งแวดล้อม แต่อายุใช้งานของเครื่องใช้อิเล็คโทรนิคส์สั้นลง เท่ากับเพิ่มขยะอิเลคโทรนิคส์ แล้วมันรักษาสิ่งแวดล้อม หรือทำลายกันแน่

* Neo Plasma ก็แค่ไม่ใช้สารปรอท กับตะกั่วในการผลิตจอ แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับภาพอย่างชัดเจน
*SS Planet Frist เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อโลกที่น่าอยู่ เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตเท่านั้น หรือเป็นกฎข้อบังคับของ America & Europe
* สีสันจะแหล่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Main Board และการเข้ากันได้กับจอที่ผู้ผลิตนั้นนำมาประกอบกัน รวมถึงการฉาบหน้าจอไม่ให้สะท้อนด้วย

made in –?
Pana –> ประกอบเครื่องที่ Malaysia(Board ทุกชนิด ผลิตในไทย)
Sharp , Philips -> made in Malaysia
LG , SS , Sony , JVC —-> made in Thailand
Toshiba , Sanyo –> made in Indonesia
TCL —> made in China . . . โรงงานที่ปทุมปิดไปแล้ว เพื่อนผมที่เคยทำที่นั่นยังซื้อ 40″ มา 4,000บ. ตอนโรงงานปิด
* made in Thailand & Malaysia ดีกว่า
* made in Indonesia ดีกว่า
* made in China

Dead pixel 3 dot อย่างต่ำ
เป็น มาตราฐานจากโรงงานผลิตจอครับ ผมอยู่โรงงานเจอ 1-2 ดอท ยังเคลมไม่ได้เลย และขนาดเจอเป็น 10 ดอท เค้าก็ซ่อมให้ ซ่อมแล้วเหลือ 2 ดอท ก็คืนไม่ได้เหมือนกัน จอใหญ่มันหนัก โรงงานผลิตจอเค้าไม่รับคืนง่ายๆครับ เค้าจะมี Engineer มาตรวจ+ซ่อมก่อนส่งคืนโรงงานผลิตจอของเค้าเอง
แล้วเครื่องที่เป็น 1 – 2 ดอท แล้วร้านเปลี่ยนตัวใหม่ให้ แล้วเครื่องนั้นจะวนไปที่ใคร ใครจะแจ็คพอต . . .

วิธีดูเครื่องว่าใหม่หรือไม่ แบบง่าย+เช็ค Dead Pixel+เช็คสิ่งแปลกปลอม
1.ที่กรอบหน้ากาก(Front หรือ Bazel)ของเครื่อง ต้องมีพลาสติคแปะมาครบทั้ง 4 ด้าน
2.ขาตั้ง ต้องมีพลาสติคแปะมาเรียบร้อย
3.กล่อง+อุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพใหม่ แบตเตอรี่รีโมทซีลพลาสติคเรียบร้อย
4.ใบรับประกันครบ 2 ส่วน
5.เช็ค Dead pixel สีแดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ชมพู ขาว ดำ ต้องไม่มีสีอื่นปนในแต่ละสี . . . ถ้าเจอ Dead ให้ขอเปลี่ยนเครื่องใหม่ ไม่ให้เปลี่ยน ก็เปลี่ยนร้านคร๊าบบบบบ
6.ให้ร้านเปิดภาพแท่งสี(Color Bar) หรือภาพที่เทส Dead ก็ได้ แล้วเอาอะไรที่มันไม่ใช่โลหะ เอาสันมือก็ได้ เคาะด้านข้างเครื่อง ด้านหลังเครื่อง ด้านบนเครื่อง อย่าเคาะหน้าจอนะครับ เพื่อดูว่าภาพนั้นยังปกติดีหรือไม่ ในขณะที่เคาะ ภาพมันจะกระตุกเล็กน้อยเหมือนภาพล้มอันนี้ปกตินะครับ และสังเกตุด้วยว่ามีเสียงอะไรผิดปกติมั๊ย เพราะบางทีพนักงานในโรงงานเค้าอาจจะทำน็อตเล็กๆตกหล่นไว้ในเครื่องก็ได้ ในโรงงานเค้าจะมีเทสแบบนี้แหละครับก่อนแพ็คลงกล่อง แต่ก็อาจจะหลุดมาถึงลูกค้าที่ซื้อใช้ตามบ้านก็ได้

เรื่อง Just ไม่ Just
Just มันไม่อ้วนตรงกลาง แต่ไปอ้วนซ้าย-ขวา เท่ากับว่าถ้าฉากที่คนอยู่ตรงกลางก็จะไม่อ้วนมาก แต่ก็อ้วนกว่าจอ 4:3 นิดหน่อย แต่คนที่อยู่ริมซ้าย-ขวาของจอ กลับอ้วนมากกว่าไม่เลือก just
อย่า กังวลเรื่องนี้เลยครับ จอไวร์สกรีน 16:9 มันเหมือนกันหมดแหละครับ เพราะสัญญาณ TV บ้านเราเป็นระบบ 4:3 พอมาดูกับจอ 16:9 ยังไงก็ต้องยืด ให้มันยืดเท่ากันทั้งจอน่ะแหละ เดี๋ยวก็ชิน ตอนผมเปลี่ยนจากจอ CRTTV มาเป็น LCDTV ตอนแรกๆก็ไม่ชิน ดูไปๆสัก 1 – 2 เดือนก็ชินครับ ตอนนี้เวลาไปบ้านญาติที่ยังใช้จอ CRT 4:3 อยู่ ผมกลับมองว่ามันแปลกๆซะด้วยครับ

การเลือกซื้อ Plasma
จะยี่ห้อไหน ก็ได้ที่เป็น Plasma เอาที่ท่านชอบ แล้วใช้ให้เป็น จริงแล้วมันมีแค่ 3 อย่างที่ต้องเลือก และ 1 อย่างเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้
3 อย่างที่ว่าก็คือ . . . . . . . 1.เลือกรูปทรงที่ท่านชอบจะยี่ห้อไหนก็ได้ที่เป็น Plasma 2.เลือกที่สะท้อนน้อยสุดเท่าที่ท่านรับได้ 3.เลือกแนวภาพ สีสัน สไตล์ที่ท่านชอบ
1 อย่างที่ต้องเรียนรู้ก็คือ . . . การป้องกันจอไหม้ กับการล้างจอไหม้

หลักการพื้นฐานการปรับค่าต่างๆของ TV
1.ปรับความสว่าง(Brightness) ให้สว่างมากที่สุด แต่อย่าให้จ้า
2.ปรับความเข้ม(Contrast) ให้สีดำดำมากที่สุด แต่อย่าให้ดำจม และสังเกตุสีขาวก็อย่าขาวจ้าเช่นกัน
3.ปรับสี(Color) ให้แจ๋น แต่อย่าให้สีเหลือมซ้อนกัน
4.ปรับความคมชัด(Sharpness) ให้ตัวหนังสือคมมากที่สุด แต่อย่าให้ Noise มันออกมาด้วย
ส่วนฟังก์ชั่นอื่นพวก Dynamic Contrast , Dynamic Color มันเป็นลูกเล่นเพิ่มเติมครับ
* Source input คนละ Source สัญญาณภาพมาไม่เหมือนกัน และเครื่องเล่นคนละแบรนด์ก็มาไม่เหมือนกัน ต้องลองปรับละเอียดด้วยตัวเอง

การเลือกซื้อจานดาวเทียม
จานชัดกว่าเสาก้างปลา และหนวดกุ้ง จานติดตั้งง่าย ไม่ต้องขึ้นเสาให้สูง เวลามีปัญหาก็ง่ายในการซ่อมบำรุง
1.เลือกจานแบบที่ท่านชอบหลายๆรุ่นก่อน แล้ว
2.ดูว่าขนาดจานรุ่นไหนติดกับที่บ้านท่านได้
3.สำคัญ ที่สุด เลือกจานที่มันอัพเฟิร์มแวร์ได้ด้วยตัวเอง เพราะพวกจานมันจะอัพอยู่เรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาสัญญาณที่ไม่ดี หรือเพิ่มช่องมาให้เรื่อยๆ ถ้าไม่อัพอัตโนมัติ ท่านก็ต้องยกไปที่ร้านเพื่อให้เค้าอัพให้ บางร้านก็คิดค่าอัพตั้งแต่ 100-300บ. แล้วแต่รุ่น แล้วแต่ยี่ห้อ แต่ส่วนใหญ่ร้านที่ท่านซื้อเค้าจะอัพให้ฟรี แล้วถ้าบังเอิญร้านที่ท่านซื้อเกิดเลิกกิจการ ทีนี้ท่านเอาไปอัพที่ร้านอื่นมีค่าใช้จ่ายแน่นอน ที่สำคัญมันเสียเวลาครับ

เครื่องกรองไฟ
ถ้าไฟไม่ดับบ่อย ไม่กระชากบ่อย ไม่ตกบ่อย แค่จัดเฟสให้ตรงก็เพียงพอแล้วครับ
ง่ายๆ DIY แค่กลับสายไฟ ถ้า TV ให้ดูว่ามันมีผลกับภาพหรือไม่ ถ้ามีผลก็เอาภาพอันที่ดีที่สุด
ถ้าป็นเครื่องเสียง กลับสายไฟ แล้วลองฟังดูว่าแบบไหน เบส กลาง แหลม อันไหนมันให้รายละเอียดกว่ากัน
ผมเคยทำโรงงาน OEM ที่ทำทั้ง TV , HT ส่งออกทั่วโลก ไม่เห็นเค้าต้องกรองอะไรเลย บางเดือนบางช่วงไฟตก
ไฟดับบ่อยก็มี บางครั้งไฟเกินจนเครื่องมือวัดพังพรึบพร้อมกันหลายเครื่องก็มี
เครื่องกำเนิดสัญญาณวิดีโอ ASTRO Video Pattern Generator ราคาเครื่องละ 2xx,xxx เกือบทุกโรงงานใช้ยี่ห้อนี้ครับ
โรงงานลงทุนหลัก 100ล้าน+ เค้าไม่เห็นให้ความสำคัญเรื่องนี้เลยครับ
โรงงานไม่ได้กรองไฟในขณะผลิต นั่นก็แปลว่า TV หรือเครื่องเสียงเหล่านั้น ก็จะยังถูกปรับตั้งค่ามาไม่ดีที่สุดน่ะสิครับ
ผมเคยไปดูงานที่ Taiwan เพื่อนำกลับมาทำโปรเจคยักษ์ เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุด ยอดขายมากที่สุดในเกาะไต้หวัน
และทันสมัยที่สุด ทำทุกอย่างตั้งแต่หม้อหุงข้าว , TV , HT , SAT , SetTop Box , PC , Panel , ตู้เย็น ,
เครื่องซักผ้า , Air Condition ทำทุกอย่างที่ใช้ไฟฟ้า โรงงานเค้ายังไม่กรองระบบไฟเลยครับ
Power Supply ของ TV , เครื่องเสียง บางรุ่นกลับเฟส แล้วไม่มีผลอะไรเลยก็มี แต่ส่วนใหญมีผลนะครับ
บางสิ่งบางอย่างมันเหนือกันนิดเดียว แต่ถ้าไม่มีผลอย่างชัดเจน น่าจะเก็บแค่ความรู้ไว้ก็พอ
จะตามให้ถึงที่สุดน่ะ ไม่มีทางครับ เทคโนโลยีมันจะออกมาให้เราเสพไปเรื่อยๆไม่มีที่สุดแน่นอน
แผ่น BD , HD , CD แท้ + เครื่องเล่นดี + สายสัญญาณที่ได้มาตราฐาน + การจัดวางสายที่ถูกต้อง
ภาพและเสียงที่ได้มันก็เยี่ยมยอดอยู่แล้วมิใช่หรือครับ

แต่ความสุขของคนเราไม่เท่ากัน ก็ตามแต่ใจไปแหละครับ ชิวชิว

หลักการจัดวางสายที่ทำได้ง่าย และเห็นผลก็คือ
1.สายสัญญาณต่างๆ กับสายไฟ ห้ามเดินมาด้วยกัน ห้ามเดินพาดกัน ให้แยกห่างจากกัน
2.สายสัญญาณต่างๆ อย่าเผื่อมากเกินไป ยิ่งยาว ยิ่งลดทอนสัญญาณ
3.สายสัญญาณต่างๆ อย่าม้วนเป็นวงกลม อย่าขดสายทบไป-มา มันจะเกิดสัญญาณรบกวน

*ใช้ Ferrite core ช่วยลดสัญญาณรบกวนได้ ประหยัดและหักล้างสนามแม่เหล็กได้ด้วย

ขอบคุณ ข้อมูลทั้งหมดจากคุณ fmt ซึ่งเป็นคนเขียนบทความไว้ที่ LCDThailand ครับ

Pin It on Pinterest

Share This