denon-dra-297

ผมยังจำได้ดีถึงตอนที่คิดจะซื้อ เครื่องเสียง ครั้งแรก สับสนอย่างไรบ้าง และความสับสนในครั้งนั้นทำให้ผมกลายมาเป็นนักเล่น เครื่องเสียง แบบจริงๆจังๆ จนทุกวันนี้

เริ่มจากเรียนจบใหม่ๆ อยากจะได้ เครื่องเสียง ดีๆไว้สักชุด ซื้อนิตยสารเกี่ยวกับ เครื่องเสียง มา  อ่าน อ่านรู้เรื่องไม่รู้เรื่องบ้าง ศัพท์แสงเต็มไปหมด   อ่านบทวิจารณ์ที่พรรณนาพิสดารล่ำลึก งงเป็นไก่ตาแตก   คิดไปว่าเป็นเรื่องสำหรับพวกหูทอง พวกหูแบบตะกั่วอย่างเราควรถอยให้***ง

สุดท้ายเลยตัดสินใจซื้อ เครื่องเสียง มิ  มิคอมโปฯ แบบแยกชิ้นรุ่น top ยี่ห้อหนึ่งราคา 3   หมื่นกว่าบาทในสมัยเกือบสิบที่แล้วมา คิดว่าเป็นรุ่น TOP แล้ว   คุณภาพน่าจะไม่หนีที่พวกหูทองเค้าฟังกัน   มาเป็นชุดไม่ต้องกังวลว่าจะเข้ากันได้ไหม แถมมีลูกเล่นแยะ   ตัวนี้แหละทีเดียวจบ

แต่มารู้ว่าสิ่งที่คาดผิดถนัด เมื่อเพื่อนคนหนึ่งจะย้ายบ้านใหม่ รู้ว่าผมสนใจ เครื่องเสียง เลยเอา เครื่องเสียง NAD ทั้งชุด มาฝากไว้ที่บ้านนานหลายเดือน   ตอนนั้นได้มีโอกาสลองเทียบกันแบบเทียบชิ้นต่อชิ้น   หากจะเป็นการประลองยุทธ์ก็ประมือไม่ถึงสามเพลง ก็รู้แล้ว ของเราไม่มีทางสู้   ทั้งที่ราคาพอๆกัน เจ็บใจตัวเองเสียดายเงิน 3 หมื่น   ตั้งใจว่าจะซื้อใหม่อีกเครื่องเอาให้ดีๆไม่ให้พลาด คราวนี้เรียกว่าบ้า เครื่องเสียง เลยทีเดียว
อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ เครื่องเสียง ทุกเล่มที่หามาได้ เจอร้าน เครื่องเสียง ไม่ได้ต้องแวะ รู้ว่าเพื่อนคนไหนมี เครื่องเสียง ต้องขอไปฟัง

แต่ ถึงขนาดนั้น   ยังหลงทางเสียงเงินเสียทองอย่างที่เรียกว่าไม่คุ้มค่าอีกหลายครั้งหลายคราว   วันนี้เลยอยากมาแนะแนวทางใน ” การเลือกซื้อ เครื่องเสียง ” ให้เพื่อนที่เริ่มจะหัดเล่น ได้ลองพิจารณาดู จะได้จ่ายเงินซื้อ เครื่องเสียง ให้คุ้มค่ากับที่เงินอุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมา ไม่หลงทางซ้ำซากเหมือนอย่างผม

ผมมีเงินอยู่…..บาท
ซื้อ เครื่องเสียง ไหน “ดีที่สุด” ครับ?

เป็น  คำถามยอดฮิตสำหรับมือใหม่ เป็นคำถามที่มือเก่าไม่ค่อยอยากตอบ   ถึงพยายามจะตอบคำตอบก็ไม่ใช่อย่างที่ผู้ถามต้องการ   จะบอกว่ามันคล้ายกับถามว่ารถอะไรดีที่สุดในราคา 1ล้านบาท ถามเซียนรถสิบคน   อาจได้คำตอบไม่เหมือนกันเลย เพราะมีหลายประเด็นที่ต้องคิดใช้ในการหาคำตอบ   รูปลักษณ์ ความเร็ว ประโยชน์ใช้สอย ความประหยัด การซ่อมบำรุง ราคาขายต่อ   ความโออ่า ความปลอดภัย หรือความภูมิฐาน

เรื่อง เครื่องเสียง ซับ ซ้อน กว่านั้นมาก เสียงไม่สามารถจับต้องหรือมองเห็นได้   สัมผัสเดียวที่ใช้คือหูของเราที่แปลงสัญญาณเสียงเป็นความรู้สึกชอบหรือไม่  ชอบ

คนสองคนนั่งฟังเพลงด้วยกัน คนหนึ่งอาจคิดว่าเสียงดีเหลือหลาย

อีกคนอาจจะคิดในใจว่าไม่เอาไหน

อย่าง นี้ก็ไม่แปลก  ต่างคนต่างมีประสบการณ์และรสนิยมที่แตกต่างกัน   ดังนั้นคำตอบของคำถามนี้เราจะต้องหาคำตอบเอง ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับงบประมาณ   รสนิยมความชอบ ห้อง และการใช้งานของเรา เพราะอย่างนี้แหละจึงมี เครื่องเสียง หลากหลายยี่ห้อ นั่งไล่ชื่อกันทั้งวันไม่หมด

เครื่องเสียง “ดี” เป็นอย่างไร ?

บาง  คนคิดว่าเครื่องที่ดีจะต้องเป็นเครื่องให้เสียงเที่ยงตรงที่สุด   ความเพี้ยนต่ำที่สุด เหมือนอุปกรณ์ในห้องแล๊ป ความจริงนั้นถูกแค่ส่วนเดียว   จริงครับ   ตัวที่ผลการวัดได้เที่ยงตรงกว่ามีโอกาสที่จะได้รับคำวิจารณ์ไปในทางที่ดี  มากกว่า แต่บางตัวผลการวัดแย่มาก แต่ได้รับคำชมทั่วโลกมีถมไป   อย่างพวกหลอดหรือลำโพงบางคู่

ดังนั้นหากจะซื้อแล้วดูแต่สเปคเครื่องเป็นหลักในการเลือกซื้อ แบบนี้เรียกว่าหลงทาง แต่จะไม่ดูสเปคเลย ก็ไปไม่รอดเหมือนกันครับ

อย่าง เรื่องกำลังขับ ความไวของลำโพง  ความต้านทานเข้าขา-ออกของอุปกรณ์  พวกนี้ควรจะเรียนรู้เอาไว้บ้าง   เป็นแนวทางเลือกให้อุปกรณ์ให้ทำงานได้ดีตามที่มันออกแบบมา

เครื่องเสียง ทุก ชิ้น  มีบุคลิกการนำเสนอเสียงของตัวเอง มากน้อยก็ขึ้นกับคุณภาพ   อยากรู้ว่าตัวไหนให้เสียงดีอย่างที่เราชอบ ต้องหาประสบการณ์ไปการฟัง   ประสบการณ์จากการได้เล่นได้ลอง จะหล่อหลอมจนเป็นความชอบส่วนตัว

ความ ชอบที่ว่าเสียงดีนี้ ไม่ใช่สิ่งตายตัว  เมื่อประสบการณ์มากขึ้น อายุมากขึ้น  ความชอบก็อาจเปลี่ยนไปได้  ความจริงแนวเสียงหลักๆ ที่เค้าว่าดี  มีอยู่ไม่กี่แบบ  ที่เซียนทั้งหลายชอบพูดถึงและมือใหม่ควรหาประสบการณ์  อย่างเช่นเสียงแบบ  Accuphase แบบ Mark แบบ Krell หรืออย่างลำโพงก็ ProAc,  Totem  พวกนี้ควรไปฟังเอาประสบการณ์ เพื่อหาเสียงดีในแบบฉบับของตัวเอง

ตัว ที่ดังๆทุกตัวจะมีดีในตัวที่เราควรศึกษา  แต่ใช่ว่าเราจะเป็นชอบเสมอไป  อย่างเช่น Accuphase คนชอบทั่วบ้านทั่วเมือง  พอได้ฟังผมยอมรับว่า  เสียงละเมียดเหลือเกิน แต่ชอบอย่าง Mark มากกว่า  เป็นต้น

เครื่องเสียง ที่ ดีคือ  พวกที่เจือบุคลิกที่เป็นเสน่ห์ของตัวเองอย่างพอเหมาะพอดี  เป็นธรรมชาติ   พร้อมรักษาความเป็นกลางในการถ่ายทอดเสียงที่บันทึกออกมาอย่างได้อารมณ์เพลง   ได้จังหวะลีลาที่ถูกต้อง ประเภทแบบร้อยเพลงหนึ่งลีลานี้ไม่ไหวครับ

เครื่องเสียง ฟัง  เพลงจังหวะสนุก ก็ต้องสนุก เพลงหวานซึ้งก็ควรได้อารมณ์ตามนั้น   ซึ่งความสามารถอันนี้แหละครับที่แยกเครื่องที่คุ้มค่าเงินออกจากเครื่อง  ธรรมดาในระดับราคาที่มันขายอยู่ ฟังดูอาจจะดูน่าสับสน   แต่เมื่อไรมีประสบการณ์มากขึ้น จะเข้าใจครับ

ระหว่าง บุคลิกกับความเป็นกลางในการถ่ายทอดอารมณ์เพลง  หากจะเปรียบให้เห็นง่าย  ก็เหมือนหาแม่บ้านบุคลิกหน้าตาดี ถูกใจเรา  แล้วงานบ้านงานเรือนไม่บกพร่อง  ได้ทุกอย่าง นั้นสุดยอดศรีภรรยาอะไรทำนองนี้

จ่ายเท่าไรดี ?

เหมือนเรื่องอื่นในชีวิตประจำวันครับ จ่ายมากได้มาก จ่ายน้อยได้น้อย

ประเภท เสียงดีกว่าอีกตัวที่ราคา 2 -3 เท่าตัว  เอาไว้เทียบตัวที่คุ้มค่าของระดับ  ไปเทียบตัวที่แย่ๆแพงๆบางตัว  แต่หากนั่งจบ  ตัวที่คุ้มค่าในระดับของมันมาเทียบกัน ก็ตามนั้น ”   จ่ายมากได้มากจ่ายน้อยได้น้อย ”

ดัง นั้นนักเล่นต้องกำหนดงบประมาณคราวๆที่ต้องการจะจ่าย ไว้ในใจก่อน  ที่คิดว่าพอดีกับฐานะ เครื่องเสียงไม่ใช่ปัจจัยสี่  ไม่มีมันก็ไม่ตาย  เบียดบังค่าเทอมลูกหรือกู้ยืมจนเดือนร้อน  อย่างนี้ไม่ดีแน่  เครื่องเสียง นี้มันสร้างมาเพื่อความสุข แต่มีมันแล้วทุกข์ อย่ามีดีกว่าครับ

สูตร ในการแบ่งสัดส่วนงบประมาณนั้น ไม่มีอะไรแน่นอน   ขึ้นกับประสบการณ์ของนักเล่น บางสูตรให้ความสำคัญตัวหนึ่งมาก ตัวหนึ่งน้อย   แต่มือใหม่ผมแนะนำ 30เปอร์เซ็นต์สำหรับต้นสัญญาณ   30เปอร์เซ็นต์สำหรับภายขยาย 30เปอร์เซ็นต์สำหรับลำโพง และอีก 10   เปอร์เซ็นต์สำหรับพวกสายต่าง   ที่แบ่งแบบนี้เพราะเป็นสัดส่วนไม่หลงทางได้ง่าย   และไม่ขัดความรู้สึกของคนซื้อนัก

เมื่อประสบการณ์แก่กล้า ซื้อสายราคาเท่าแอมป์อย่างนี้ก็ไม่แปลกครับ แต่ชุดแบบหัดเดินเล่นสายราคาเท่าแอมป์นี้เรียกว่าหลงทางครับ

Pin It on Pinterest

Share This